This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตัวอย่างวิธีทำสมาธิ

ตัวอย่างวิธีทำสมาธิ
การทำสมาธิ หมายถึง การที่เราเพ่งจิตกำหนดรู้สภาวะใดสภาวะหนึ่งแล้วทำให้จิตใจมีความแน่วแน่
1.วิธีทำสมาธิแบบใช้คำบริกรรมสัมมาอะระหัง เป็นวิธีที่กำหนดจิตกับคำบริกรรมจนเกิดสมาธิ โดยเริ่มนั่งโดยเอาเท้าขวาทับเท้าซ้ายมือขวาทับมือซ้าย จุดหมุนมือนิ้วชี้ขวาจรดกับจุดหมุนมือนิ้วโป้งข้างซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา วิธีนั่งนี้สามารถนั่งสมาธิได้ทุกกรณ๊ แล้วบริกรรมอยู่ในใจด้วยคำบริกรรมของตน จนจิตเกิดสมาธิ
2.วิธีทำสมาธิแบบอานาปานสติ
เป็นวิธีที่ใช้จิตกำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้าออกของเราโดยที่หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ ลมหายใจยาวรู้ ลมหายใจสั้นรู้ หรือแค่กำหนดรู้ว่าเข้าออก โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกจาก 3 ฐานคือ
1ปลายจมูกหรือริมฝีปาก
2อก
3.เหนือสะดือสองนิ้ว(ศูนย์กลางกาย)
โดยที่เราจะกำหนดที่จุดเดียวหรือหลายจุดก็ได้แล้วแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล โดยผู้ที่เริ่มปฏิบัตินั้นอาจจะกำหนดแค่ฐานเดียวก่อนพอเกิดวสี(ความชำนาญ)ในการทำสมาธินั้นสามารถกำหนดทั้งสามฐานได้
3. การทำสมาธิแบบยุบหนอพองหนอหรือกำหนดรู้อาการที่เรากระทำว่าหนอ
เป็นการทำสมาธิที่เรากำหนดจิตที่หน้าท้องตรงจุดสะดือโดยกำหนดรู้ว่าหน้าท้องพอง บริกรรมในใจว่าพองหนอ พอหน้าท้องยุบบริกรรมว่ายุบหนอ แต่บางท่านบริกรรมไม่ทันในคำว่าหนอนั้นก็สามารถบริกรรมแค่พอง และยุบก็ได้ อีกทั้งเรายังสามารถกำหนดรู้ในทุกอริยาบถได้ด้วยคำบริกรรมหนอตามหลังอริยบทที่เรากระทำอยู่ เช่น เดินหนอ นั่งหนอ นอนหนอ ได้ยินหนอ กินหนอ เป็นต้น
วิธีธรรมสมาธิแบบธรรมกาย
การทำสมาธิแบบธรรมกายนั้นต้องมีคำบริกรรมภาวนากับบริกรรมนิมิตบริการรมคู่กันไป
          บริกรรมนิมิต ให้กำหนดเครื่องหมายเข้า ดวงใสเหมือนกับเพชรลูกที่เจียระไน แล้ว ไม่มีขนแมว โตเท่าแก้วตา
บริกรรมภาวนา คือ การบริกรรมคำอยู่ในใจว่า สัมมาอะระหัง
การบริกรรมนิมิตและภาวนาของธรรมกายจะบริกรรมภาวนาก่อนว่า สัมมาอะระหังแล้วตรึก(นึก)ถึงดวงใสหรือการบริกรรมนิตรนั่นเอง
กลางกั๊กคือตรงกลางไม่ค่อนไปทางใดทางหนึ่งเปรียบดังหน้าทะลุหลังขวาทะลุซ้ายแล้วตรงกลางที่ตัดกันเรียกว่ากลางกั๊ก
กำหนดฐานทั้ง 7
ฐานที่1อยู่ที่รูช่องจมูก โดยผู้หญิงกำหนดนิมิตดวงใสประคองเข้าไปที่ช่องจมูกด้านซ้ายส่วนชายกำหนดเข้าทางด้านขวา แล้วบริกรรมนิมิตและภาวนาตรงฐาน3รอบแล้วเลื่อนไปอีกฐานหนึ่ง
ฐานที่2อยู่ที่เพลาตาที่มูลตาไหลออกมา หญิงเลื่อนนิมิตรเข้าช่องเพลาซ้ายส่วนชายนั้นเลื่อนเข้าทางขวาแล้วบริกรรมนิมิตรและภาวนา 3 สามรอบแล้วเลื่อนไปอีกฐานหนึ่ง
ฐานที่3อยู่กลางกั๊กศรีษะข้างในไม่ค่อนซ้ายหรือขวาแล้วบริกรรมนิมิตรและภาวนา 3 รอบแล้วเลื่อนไปอีกฐานหนึ่ง การเลื่อนนิมิตดวงใสไปฐานที่4นั้นมีลัทธิพิธีอยู่คือ ต้องกลับตาไปข้างหลัง ให้ตาค้างเหมือนคนชักจะตายแล้วเราหลับตาอยู่ช้อนขึ้นข้างบนเหลือกขึ้นข้างบนเหลือกไปๆจนค้างแน่นแล้วให้ความเห็นกลับไปข้างหลังแล้วค่อยๆให้เห็นกลับเข้าข้างในแล้วจึงเลื่อนนิมิตรดวงใสไปอีกฐานหนึ่ง
ฐานที่4อยู่ตรงที่ปากช่องเพดานที่เรารับประทานอาหารแล้วสำลัก เลื่อนนิมิตรเข้ามาแล้วบริกรรมนิมิตรและภาวนา3รอบแล้วเลื่อนไปอีกฐานหนึ่ง
ฐานที่5อยู่ที่ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือกเหมือนกลางกั๊กปากถ้อยแก้ว โดยกำหนดนิมิตไปที่ฐานแล้วบริกรรมนิตรและภาวนาสามรอบแล้วจึงเลื่อนไปอีกฐานหนึ่ง
ฐานที่6อยู่ที่กลางตัว สะดือทะละหลังขวาทะลุซ้ายกลางกั๊กข้างใน แล้วบริกรรมนิมิตรและภาวนา3รอบแล้วเลื่อนไปอีกฐานหนึ่ง

ฐานที่7อยู่ที่ศูนย์กลางกลางพอดี โดยเลื่อนจากฐานที่6สูงขึ้นมา 2 นิ้วแล้วบริกรรมนิมิตรและภาวนา3รอบ นิ่งตรงจุดนี้จนกว่านิมิตจะเกิด เราสามารถใช้วิธีนี้ได้ทั้งนั่ง นอน